ผู้เขียนในอดีตเมื่อครั้งทำงานบริษัทกฎหมาย มีหน้าที่ต้องแปลกฎหมายให้กับบรรดาทนายน้อยใหญ่ในสำนักงาน บางคนพอไปเรียนต่อปริญญาโทเมื่อต้องเขียนวิทยานิพนธ์ร้อยทั้งร้อยจะมาติดอยู่ที่การนำกฎหมายภาษาต่างประเทศมาศึกษาและเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยที่ตนเองศึกษาอยู่ สิ่งที่พบคือแต่ละคนหาทางออกกันลำบากครับ เพราะหากไม่ชำนาญภาษาก็ต้องหาคนมาช่วยแปลซึ่งก็ประสบปัญหาคือ
1. ภาษาต่างประเทศที่เป็นกฎหมาย หาคนแปลยากมากครับ แม้จะหาได้ค่าใช้จ่ายมันสูง
2. แม้จะไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการแปล ปัญหาต่อมาคือการปรับความคิดให้ตรงกันระหว่างคนที่เขียนวิทยานิพนธ์กันนักแปล เพราะคนแปลเขาเรียนมาทางอักษรหรือภาษาศาสตร์ มุมมองต่อภาษาย่อมต่างกันกับคนเรียนกฎหมาย
3. ปัญหาต่อมาคือการแปลต้นฉบับกฎหมายทีจะศึกษาบานปลายครับ คือนอกจากจะศึกษาตัวบทที่ต้องการแล้ว และนำต้นฉบับไปแปลก็อาจเกิดปํญหาบานปลาย เช่น บางครั้งอาจต้องนำกรณีตัวอย่าง คำพิพากษาไปศึกษาด้วย (อันนี้ก็ต้องค้นหากันใหม่ครับ) หรือบางตรั้งอาจารย์ผู้ตรวจวิทยานิพนธ์อยากได้กระบวนการนิติบัญญัติ (การร่างกฎหมาย) ของต่างประเทศประกอบด้วย จุดนี้งบประมาณบานไม่รู้โรยจริง ๆ ครับ
ปัญหาทั้งสองอย่างทำไห้วิทยานิพนธ์กฎหมายมีความล่าช้าและสิ้นเปลีองงบประมาณมากครับ แต่บอกปัญหาแล้วก็บอกทางแก้ซิครับ ฟังทางนี้
1. นักศึกษาสมัยนี้โชคดีครับมีอินเทอร์เน็ตใช้ นักศึกษารุ่นเก่า ๆ ลำบากกว่าเราหลายร้อยเท่า แต่ก็ทึ่งครับจบมาได้ไง สุดยอดความอดทนเลยครับ
2. ก่อนจะเริ่มเขียนวิทยานิพนธ์นิติศาสตร์ลองตรวจทางอินเตอร์เน็ตก่อนครับ แหล่งข้อมูลทางนิติศาสตร์ของไทยก็มีที่ จุฬา กับธรรมศาสตร์ เพราะสองที่นี้มีวารสาร งานวิจัยทางกฎหมายที่เป็นรากเหง้าของประเทศมากมาย วารสารส่วนใหญ่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว
3. ใช้อินเทอร์เน็ตให้คล่อง ๆ นะครับ เพราะตัวบทกฎหมายต่างประเทศสมัยนี้เขาบันทึกข้อมูลให้คนค้นและปรินต์กันได้แล้วประหยัดเวลา หรือแม้แต่วิทยานิพนธ์กฎหมายของบางมหาวิทยาลัยก็มีให้ดาวโหลดไปศึกษาได้ บางที่เขามไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์ครับ
4. ถ้าไม่ชำนาญภาษาต่างประเทศก็หาผู้ชำนาญการช่วยแปลให้ ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีศูนย์ภาษาให้บริการนักศึกษาของตัวเองลองดูนะครับ
5. ถ้าคิดว่าทุนสูงไปก็ลองใช้พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ดูนะครับ พอกล้อมแกล้มไปได้ แต่จะให้ผมบอกว่าโปรแกรมไหนดีกว่าอะไรก้ไม่ทราบเหมือนกันครับ เพราะผมไม่เคยใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น