เป็นการเก็บข้อมูลอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังนิยมกันมากโดยเฉพาะการทำวิจัยในเชิงคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจ้างพนักงานไปสอบถามความเห็นเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือการบริการ แล้วส่งข้อมุลกลับมาให้นายจ้างเพื่อรับเงินค่าจ้างวันละ200-400บาทต่อวัน ซึ่งหลายบริษัททำกันมาก ตั้งแต่ชื่อบริษัทแบบเก๋ๆแปลกๆน่าสนใจ อาทิ บริษัทรีเสริช บ้าง บริษัทพัฒนาคุณภาพบุคคลบ้างฯลฯ นั้นคือการสอบถามทั่วไปเท่านั้นเอง แต่การสัมภาาณ์ที่จะพูดถึงนั้น เป็นการดึงข้อมูลที่เป็นแก่นของเรื่องจริงๆ ทั้งในทางตรงและแวดล้อมข้างๆ จะทำให้เกิดภาพที่กำลังจะศึกษาได้เห็นฃัดเจนมากกว่าการไปค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างที่เราๆท่านๆทำกันมาตลอด อย่างไรก็ดีการสัมภาษณ์เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลในทางลึกและมีรายละเอียดที่ชัดเจนนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแต่ก็ไม่ยากถ้าจะทำสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
1.ผู้ที่เราจะไปสัมภาษณ์
ประการแรกเลยเราต้องศึกษาหาข้อมูลของผู้ที่เราจะไปสัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูลได้ได้มากที่สุด นั่นหมายความว่าเราต้องทำการบ้านสำหรับคนๆนั้นในระดับหนึ่ง ถ้าเราไม่รู้ชีวิตทุกๆด้านของผู้ให้สัมภาษณ์ แค่นัดสัมภาษณ์อาจจะผิดหวังไปเลยก็ได้ เพราะเราไม่รู้ประวัติของเขาเลย แม้ว่าสิ่งที่เราต้องการศึกษาวิจัยนั้นมันไม่เกีย่วกับจะต้องรู้ชีวิตของเขาเลย แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิด อย่าลืมว่าถ้าเป็นคนธรรมดาก็ไม่เครียดมากนัก แต่ถ้าหากสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการสำนักหรือกองต่างๆ แค่จะเข้าไปพบบางคนก็กล้าๆกลัวๆทั้งๆที่ยังไม่ได้สัมภาษณ์อะไรเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้บริหารภาครัฐเหล่านี้ เป็นบุคคลสาธารณะ จริงๆแล้วใครๆก็สามารถเข้าพบได้ แต่หากไม่ศึกษาเขาเสียก่อน การสัมภาษณ์จะไม่ราบรื่นที่สำคัญมองไปอีกมุมหนึ่งในส่วนที่เป็นผู้บริหารระดับซีอีโอในภาคธุรกิจเอกชน ยิ่งต้องทำการบ้านอย่างหนักเลย ยิ่งกว่าข้าราชการระดับสูงหลายเท่า เพราะอย่างแรกเขาเป็นนักธุรกิจที่เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ หรือกลางหรือเล็กก็ตาม คนเหล่านี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากผ่านเรื่องราวมาเยอะ จนประสบความสำเร็จ เป็นบุคคลที่เรียกว่านายจ้างหรือเจ้าของ การเข้าพบและให้สัมภาษณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากและผ่านขั้นตอนหลายขั้นยิ่งบริษัทหรือนักธุรกิจคนสำคัญของบ้านเมืองต้องใช้เวลานานเสียด้วยซ้ำ
2.ประเด็นหรือข้อมูลที่ต้องการ
เรื่องประเด็นที่สัมภาษณ์นั้นจะต้องเตรียมตัวให้ดีตั้งแต่แรกเพราะการไปพูดคุยสนทนากับบุคคลที่เราต้องการข้อมุลนั้น จะต้องนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเขาที่จะต้องการข้อมูล ไม่ว่าเรื่องนั้นจะกระทบกับสังคมมากน้อยเพียงใด หรือส่งผลกับส่วนรวมอย่างไร ประเด็นที่ต้องการเราต้องทำการบ้านว่าจะต้องถามในส่วนของการนำการสนทนาแบบใด ซึ่งไม่มีกฏตายตัว แต่ทำอย่างไรให้เขารู้ว่าเราสนใจในตัวเขามากที่มานั่งคุยในครั้งนี้ อย่างแรกหากจะมองเห็นคือถ้าจะเกริ่นเรื่องประวัติความดีงาม การช่วยเหลือสังคมหรือการเป็นบุคคลดังอย่างไร เราจะต้องทำตัวว่ามีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดกับเขาด้วย ไม่ใช่ว่าไม่รู้จักเลยว่าเป็นใครมาจากไหน แล้วทำอะไร ไม่เช่นนั้นจะเสียเวลาเปล่าๆอย่างแน่นอน การสร้างความสัมพันธ์ตรงนี้สำคัญมากที่จะเข้าไปสู่การสนทนาที่เป็นกันเองต่อไปสิ่งที่พอจะเห็น ได้แก่ การยกย่องประวัติชีวิต เรื่องการทำงาน เรื่องการช่วยเหลือสังคม หรือสิ่งที่ดีๆงามๆของตัวเขา ทำให้เขารู้ว่าเรารู้จักตัวเขาแล้วในระดับหนึ่ง ตรงนี้ทำได้ไม่ยาก อย่างแรกต้องไปหาข้อมูลทุกด้าน ของเขา ต่อมาเขามีประวัติชีวิตเป็นอย่างไร และประการสุดท้ายชีวิตในปัจจุบันจริงๆที่อยู่ในกระแสหรือประเด็นที่เรากำลังศึกษาเกี่ยวข้องกับท่านอย่างไร องค์ประกอบเหล่านี้เองที่จะนำท่านไปสู่การสัมภาษณ์ที่ดีและราบรื่นเป็นกันเองมากขึ้น อย่าลืมว่าการไปหาข้อมูลนั้น ไม่ใช่เราจะซักเขาเพียงอย่างเดียว หากเขาจะตอบกลับมาเช่นไรก็ตามเราต้องสามารถตอบกลับได้อย่างดีด้วย
3.การลำดับประเด็นที่สัมภาษณ์
ในช่วงของการสัมภาษณ์นั้นก็มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการล้วงข้อมูลที่เราต้องการออกมานั่นเองถ้าการจัดลำดับประเด็นไม่ดี จะมีข้อเสียหลายอย่าง ประการแรก การสัมภาษณ์จะสิ้นสุดลงในไม่ช้าเพราะแค่จะเปิดประเด็นก็ตกม้าตายเสียแล้ว ประการต่อมาการลืมประเด็นต่างๆที่เราต้องการแต่กลับไม่ได้ เพราะไม่ได้จัดลำดับความสำคัญและเรียงประเด็นไว้ อย่าลืมว่าการสัมภาษณ์ไม่ใช่การคุยกับบุคคลหนึ่งที่เราเจอประจำ แต่มันเป็นเรื่องที่เฉพาะ หรือเป็นทางการ และส่งผลกับหลายส่วน เพราะเรื่องที่ศึกษาส่วนมากจะไปเกี่ยวข้องกับสิ่งรอบข้างแน่นอน เอาง่ายๆอย่างที่บอก แค่จะเข้าไปหาก็ลืมประเด็นกันหมดแล้ว แต่นี่ต้องการคุยยาวและนาน จะต้องมีอะไรที่พิเศษในระหว่างการสัมภาษณ์นั้นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยในเรื่องอื่นๆบ้างเป็นระยะๆซึ่งเป็นเรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลหรือเรื่องราว เป็นการพักและคลายความตึงเครียดไปด้วย พร้อมกันนี้อาจจะต้องทานน้ำบ้าง ดื่มกาแฟ รวมถึงการเข้าห้องน้ำบ้างก็เป็นการพักอิริยาบถ ซึ่งมาถึงตรงนี้ได้นั้นต้องคุยกันระยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่ามีความคิด หรือการถามตอบเป็นไปอย่างราบรื่นแล้วดูประหนึ่งว่าทั้งสองคุ้นเคยกันแล้ว
4.องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่
-การแต่งตัว การไปพบบุคคลที่เราจะสัมภาษร์เพื่อหาข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการแต่งตัวที่ดูดี โดยสายตาของคนทั่วๆไป ตั้งแต่เสื้อผ้า ผม รองเท้า รวมถึงลักษณะโดยรวมดูแล้วทุกอย่างลงตัวพองดงามสุภาพเรียบร้อย เพราะการแต่งตัวจะเป็นด่านแรกของมิตรภาพ นั่นหมายความว่า หนึ่งป็นการให้เกียรติกับบุคคลดังกล่าว สองเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ และสามสร้างความสัมพันธ์อันดีในการสัมภาษณ์ในโอกาสข้างหน้า
-เวลา สำหรับเรื่องเวลาสำคัญมากทีเดียว อย่าคิดว่าไม่เป็นไรเขารอได้ เราคิดไปเองมากกว่า เพราะคนทีเราต้องการสัมภาษณ์เพื่อล้วงข้อมูลทุกอย่างนั้น การจะให้เขามารอคุณ มันเป็นเรื่องที่เสียหายมาก บางทีอาจจะหงุดหงิด บางทีอาจจะปฏิเสธไปเลยก็ได้ บุคคลรดับที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น เขาเองไม่มีเวลาเพียงพอที่จะมานั่งรอคุณอยู่ได้ เพราะตารางเวลาเขาเป๊ะๆ
-อุปกรณ์การสัมภาษณ์ ส่วนนี้ก็มีความสำคัญ ในเมื่อเราต้องการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นแหล่งปฐมภูมิจริงๆการจดหรือช็อตโน้ท อย่างเดียวไม่เพียงพอ สิ่งที่จะต้องเตรียมให้พร้อมคือ นาฬิกา บอกเวลาเพื่อนัดสัมภาษณ์ได้อย่างสบายใจ อย่างที่สองเทปบันทึกเสียง สำคัญมากเลยกับเรื่องการสัมภาษณ์ เพราะเตือนไว้เลยว่าการสัมภาษณ์อาจจะมีเพียงครั้งเดียวและก็พูดครั้งเดียวเท่านั้น จะไปรีเพลคำพูดว่าอะไรนั้น ไม่สามารถทำได้เลย ยิ่งผู้ให้สัมภาษณ์แค่นัดก็ยากแล้ว หากจะบอกว่าขอสัมภาษณ์ใหม่อีกครั้ง คงเป็นเรื่องที่ตลกสิ้นดีเทปบันทึกเสียงมี2แบบ เป็นแบบชนิดพกพาที่เป็นแบบเล็กๆกะทัดรัดมีม้วนอัดขนาดเล็ก กับอีกแบบเป็นเทปอัดขนาดม้วนเทปคาสเซ็ท และสุดท้ายกล้องถ่ายรูป หลายคนอยากจะถ่ายทอดเป็นภาพอออกมาเพื่อเป็นหลักฐานในการทำวิจัย หรือบางคนก็ต้องนำภาพไปประกอบเพื่อให้ทางระดับสูงพิจารณา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น