ขั้นตอนการดำเนินงาน (ขั้นตอนพื้นฐานที่เข้าใจโดยทั่วกัน)
1. ค้นคว้าเอกสาร
2. เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ปรับปรุงแก้ไขหัวข้อ
3. สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์
4. ปรับปรุงแก้ไขทำแบบสอบถามทำคู่มือลงรหัส หากเป็นเชิงคุณภาพก็เริ่มวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล
5. เก็บข้อมูล/ลงพื้นที่ภาคสนาม/เข้าห้องสมุด
6. ลงรหัสข้อมูล/วิเคราะห์เอกสาร
7. ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
8. วิเคราะห์และสรุปผล
9. เขียนรายงาน
10. ตรวจร่างนำเสนอ
11. จัดทำรูปเล่ม
12. ส่งรูปเล่มต่อมหาวิทยาลัยเผยแพร่
ขั้นตอนการดำเนินงาน(ที่เป็นจริง)
แผนดำเนินการที่ผมนำมาข้างต้นนี้เป็นแผนเบื้องต้นคร่าว ๆ เพื่อให้เห็นภาพขั้นตอนการทำงานเท่านั้นครับ แต่เมื่อลงมือดำเนินงานจริงมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้งานช้าหรือเร็ว หรืองานไม่เสร็จเลยก็มี เช่น
1. นักศึกษาเกิดเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อ
2. งานยุ่งไม่มีเวลาเขียนงาน
3. อาจารย์งานยุ่งไม่มีเวลาตรวจงาน
4. ตอนเสนอเค้าโครงตั้งเป้าไว้สูงเกินจริง เมื่อลงมือปฎิบัติเก็บข้อมูลไม่ได้
5. ย้ายงานเปลี่ยนงานไม่มีเวลาเขียน
6. มีปัญหาครอบครัว ปัญหาการงานไม่มีกำลังใจเขียนและอื่น ๆ อีกมากมาย
ปัญหาข้างต้นหากเกิดขึ้นกับใครแล้วย่อมบั่นทอนกำลังใจเขียนวิทยานิพนธ์ต่อแน่ครับ ยิ่งงานยืดเยื้อ ต้นทุนบานปลาย บางคนต้องรีบจบนำวุฒิการศึกษาไปปรับระดับตำแหน่งเพื่อผลความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เมื่อเจอปัญหานี้อย่าตกใจครับปัญหาเหล่านี้พอมีทางออกครับ ลองมาอ่านประสบการณ์ของทีมงานของเราดูบ้าง
1. หลักการสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาคือ ปรับแนวคิดใหม่จากเดิมที่เคยคิดว่าแต่ละขั้นตอนไม่จำเป็นต้องเดินเรียงตามกันเหมือนลำดับขั้นตอนที่ผมนำเสนอเสมอไปครับ เช่น ต้องทำบทที่ 1 ก่อนแล้วค่อยมาบทที่ 2 แล้วค่อยมาบทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5 ทางทฤษฎีอาจเป็นขั้นเป็นตอนแต่ทางปฏิบัติอาจไม่ใช่
2. เมื่อลงมือเขียนงานวิจัยจริง ๆ ขณะที่เราเตรียมงานบทที่ 1 อยู่บางครั้งสมองอาจจะนึกแวบคิดเนื้อหาบทอื่น ๆ ขึ้นมาได้ ถ้านึกอะไรออกก็รีบจดบันทึกไว้นะครับ ถึงแม้ว่าต้นฉบับจริงจะเขียนไปไม่ถึงก็ตาม
3. ในระหว่างหาข้อมูลมาทำวิจัยเชื่อแน่ว่าหลายท่านอาจพบข้อมูลที่ต้องใช้ในอนาคตอย่างไม่ตั้งใจ เมื่อพบแล้วรีบเก็บไว้ทันทีอย่าปล่อยไปเด็ดขาด ถึงเวลาค่อยนำออกมาใช้และไม่ต้องกังวลว่าเป็นการทำงานข้ามขั้นตอน ดีเสียอีกครับจะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น
4. ตัวอย่างนักศึกษาท่านหนึ่งที่ผมรู้จักเขียนวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นงานที่ต้องสัมภาษณ์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งแหล่งข้อมูลท่านนี้ต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน ขณะนั้นรุ่นน้องท่านนี้เพิ่งเขียนบทที่ 1 เสร็จหมาด ๆ หากรอให้แหล่งข้อมูลท่านนี้เดินทางกลับมาเสียก่อนแล้วค่อยสัมภาษณ์จะทำให้งานล่าช้าออกไปเป็นหลายเดือน เขาแก้ปัญหาโดยเร่งสร้างแบบสอบถามที่ออกแบบมาภายใต้กรอบวัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษา โดยปรึกษาขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ตลอดเวลา แบบสอบถามที่ได้สามารถครอบคลุมประเด็นให้มากที่สุด แต่เนื่องจากผู้ให้สัมภาษณ์จะต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน เจ้าของงานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เลยตั้งแบบสอบถามเกินวัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษาที่ตั้งไว้ โดยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้แสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด และอาศัยเดินทางไปสัมภาษณ์หลายครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ รุ่นน้องท่านนี้ได้ข้อมูลสำหรับวิเคราะห์บทที่ 4 โดยที่ต้นฉบับจริงเพิ่งเขียนบทที่ 1 จบเท่านั้นเอง
เครือข่าย Robot text ของ google มีกำลังค้นหาสูงมากครับสามารถหาคำได้หลายคำในการพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาได้ในคราวเดียว เช่น ถ้าต้องการต้นหาทฤษฎีนโยบายและแผน เราสามารถทำได้โดยพิมพ์คำว่า นโยบาย,ทฤษฎี,วิเคราะห์นโยบาย เป็นต้น โดยเรียงคำที่ต้องการค้นหามากที่สุดก่อนแล้วเรียงลำดับคั่นด้วยเครื่องหมาย , ครับ
ตอบลบ