ก่อนจะหาทางประหยัดค่าใช้จ่ายในการเขียนก็ต้องเรียนรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้งบประมาณการเขียนวิทยานิพนธ์บานปลายมันมาจากไหนและแก้ปัญหาจากจุดนั้น มีตัวอย่างดังนี้
1. วิทยานิพนธ์มีอาจารย์ที่ปรึกษาหลายคนแต่ละคนมีความเห็นไม่ตรงกันทำให้ต้องหาข้อมูลต่างกันและหาข้อมูลเยอะขึ้น ซึ่งทำให้งบบานปลาย ทางแก้คือ ก่อนจะเสนอเนื้อหาที่เป็นรูปแบบงานที่สมบูรณ์ให้ส่งตัวอย่างเนื้อหาอย่างย่อ ๆ ไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาดูก่อน วิธีนี้จะประหยัดเพราะให้ดูเรื่องย่อก่อนถ้าพอใจ หรือให้แก้ไขอะไรก็ทำไปพร้อมกันเลยทีเดียว ดีกว่าทำเป็นรูปเล่มหนา ๆ แล้วส่งไปให้อาจารย์ตรวจเพราะหากมีการแก้ไขมันหมายถึงต้นทุนบานปลายครับ
2. หาข้อมูลทางเน็ตก็ได้นะครับประหยัดดี สมัยเมื่อหลายปีก่อนที่อินเตอร์เนตจะก้าวหน้าทันสมัยอย่างปัจจุบัน การหาข้อมูลเพื่อเขียนหนังสือสักเล่มเป็นเรื่องที่ยากเย็นมาก โดยเฉพาะต่างจังหวัดห่างไกลยิ่งลำบากมาก แม้จะมีห้องสมุดประชาชน หรือห้องสมุดสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นก็ไม่สามารถตอบสนองทางวิชาการได้ทั้งหมดเพราะข้อมูลวิชาการดี ๆ มักจะอยู่ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ปัจจุบันการหาข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายแสนง่าย เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เนตได้แล้วก็ค้นข้อมูลโดยเฉพาะจากเวปยอดนิยม www.google.com หรือ www.wikipedia.org หรือเวปไซดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการเขียน การประหยัดค่าใช้จ่ายกับการเก็บข้อมูลจากอินเตอร์เนตสามารถทำได้โดย
1. หากหาข้อมูลจากเวปหนังสือพิมพ์ควรสืบค้นด้วยว่าข้อมูลนั้นปรากฏอยู่ในต้นฉบับหน้าอะไร ถ้าจะให้ดีให้บันทึกหน้าข้อมูลนั้น ๆ เก็บไว้อ้างอิงด้วย อย่าเพิ่งลบข้อมูลทิ้งจนกว่างานจะเสร็จ
2. ควรเลือกเวปที่น่าเชื่อถือและเป็นทางการ เช่น เวปราชการ เวปของมหาวิทยาลัย เวปองค์กรอิสระต่าง ๆ เวปหน่วยงานสำนักวิจัยต่าง ๆ เช่น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย เป็นต้น
3. หากข้อมูลที่หาได้เป็นข้อมูลที่บันทึกต้นฉบับเอกสารโดยการสแกนเอกสารดั้งเดิมมาก็ควรบันทึกหรือปรินต์เก็บไว้เผื่ออ้างอิงในอนาคตด้วยนะครับ ข้อมูลเอกสารที่สแกนต้นฉบับเอกสารแล้วนำใส่ไว้ให้สืบค้นส่วนใหญ่พบในเวปราชการครับ เช่น กฎหมาย บันทึกข้อความ ประกาศ คำสั่งต่าง ๆ
ข้อควรระวังการหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต
การหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตแม้จะประหยัดแต่ก็มีจุดอ่อน เช่น
1. ข้อมูลในอินเตอร์เนตมักอยู่ไม่คงทน เนื่องจากพื้นที่ของแต่ละเวปไซด์จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาข้อมูลเก่าจะต้องหล่นไป หากมีการสืนค้นย้อนหลังข้อมูลเดิมอาจไม่อยู่แล้ว
2. ควรเลือกเวปที่น่าเชื่อถือและเป็นทางการ เช่น เวปราชการ เวปของมหาวิทยาลัย เวปเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ นอกจากจะมีข้อมูลจากเวปแล้วยังมีข้อมูลที่เป็นเอกสารคู่ขนานกันทำให้อ้างอิงเชื่อมโยงถึงกันได้
3. เนื้อหาบางอย่างเป็นเรื่องดีสามารถนำมาใช้กับงานเขียนของเราได้ แต่…เวปไซดส่วนใหญ่ละเลยการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล หากเราเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้แล้วอ้างอิงเพียงแค่เวปไซด์จะมีผลทำให้ข้อมูลของเราขาดความน่าเชื่อถือครับเวปเหล่านี้มักเป็นเวปเฉพาะกิจเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่ใช่เวปไซด์ราชการ สถาบันการศึกษา องค์กร สถาบันฯ ที่ได้รับความเชื่อถือจากสังคม
4. การบันทึกข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นเก็บข้อมูลต้องระวังไวรัสคอมพิวเตอร์ติดมาด้วยนะครับ เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะต้องมีโปรแกรมสแกนไวรัสไว้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น