เรื่องแบบนี้เป็นกันเยอะครับ คือเขียนในสิ่งที่ตัวเองรู้ดีแล้วแต่ติดปัญหาว่าจะสื่อโดยการเขียนอย่างไรให้คนอื่น(โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษา) เข้าใจได้อย่างไร หลายคนแม้จะเคยทำรายงานสมัยเรียนปริญญาตรี เคยเขียนรายงานระดับชั้นปริญญาโทมาก็เยอะ แต่เมื่อมาเจอการเขียนงานวิจัยในระดับปริญญาโทอย่างวิทยานิพนธ์ก็เกิดอาการมึนได้เหมือนกันครับ เพราะไม่เคยชิน และปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ
1. ปัญหาด้านการใช้ภาษาปัญหาทางภาษาแรกที่พบคือ ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เพราะความไม่คุ้นเคยกับภาษาวิชาการ ภาษาในการเขียนงานวิชาการโดยเฉพาะรายงานการวิจัย งานวิทยานิพธ์จะเป็นภาษาที่ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม หากมีปัญหาไม่คุ้นเคยกับภาษาทางวิชาการ
เขียนไม่ได้มีทางแก้ครับโดยหาตัวอย่างงานวิจัยที่ดี มีคุณภาพ และศึกษาในแนวทางที่คล้ายกับเรามาเป็นต้นแบบการเขียนซิครับ ไม่ได้ให้ลอกมานะครับเพียงแต่ดูว่าเขาพูด เขาเขียนกันอย่างไร จะเอื้อน จะเอ่ยแต่ละประโยคเขาอารัมบทกันอย่างไร เขียนสรุปจบอย่างไรเท่านั้นครับปัญหาด้านความไม่คุ้นเคยกับภาษาวิชาการแก้ได้ครับ
หลังจากที่เราได้เลือกเรื่องที่วิจัยแล้วก็ลองหาตัวอย่างงานวิจัยที่เคยมีคนอื่น ๆ วิจัยมาก่อนหน้ามาอ่านดู พิจารณาสำนวนที่เขาเขียนว่าเขาเขียนอย่างไร เริ่มต้นย่อหน้า ลงท้ายอย่างไร ใช้สำนวนอย่างไรในการยกตัวอย่างแล้วนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง สรุปอย่างไร การดูตัวอย่างงานวิจัยเก่า ๆ ที่ตีพิมพ์มาแล้วก็ช่วยร่นระยะเวลาได้นะครับไม่ต้องเสียเวลามากนัก
2. ปัญหาด้านการจัดระเบียบความคิด ปัญหาการจัดระเบียบที่พบคือ ไม่ทราบว่าจะจับอะไรก่อน อะไรหลัง เพราะสิ่งที่คิดไว้มีหลายอย่าง แต่ละอย่างก็สำคัญและดีต่อเรื่องที่จะเขียนทั้งสิ้น การแก้ปัญหาการจัดระเบียบความคิดสามารถทำได้โดยใช้การเรียงลำดับ เช่นเรียงลำดับเนื้อเรื่องจากเล็กไปหาใหญ่ เรียงลำดับตามเหตุการณ์ตามปีปฏิทิน หรือตามเหตุณ์ในเรื่องที่นำมาศึกษา เรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา เช่น เรียงจากเนื้อหาที่ยากไปหาเนื้อหาที่ง่าย หรือเรียงจากเนื้อหาเล็ก ๆ ไปหาเนื้อหาใหญ่ ๆ
3. การเรียบเรียงความคิดเพื่อนำเสนอ การเรียบเรียบความคิดเพื่อนำเสนอมีขั้นตอน คือ
3.1 จดบันทึกทันที ขั้นตอนนี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะหลายคน พลาดมองข้ามไป เมื่อคิดได้แล้วให้จดบันทึกทันทีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะจัดลำดับอย่างไร การเขียนลงไปทันทีจะช่วยป้องกันไม่ให้ลืมประเด็นสำคัญ ๆ
3.2 จัดลำดับ นำสิ่งที่คิดและเขียนไปแล้วมาจัดลำดับ เช่น จัดตามลำดับเหตุการณ์ จัดตามลำดับความสำคัญของเนื้อหา การจัดลำดับนี้ให้ยึดวัตถุประสงค์การศึกษาไว้ด้วยนะครับการจัดระเบียบความคิดโดยนำเนื้อหามาเรียงลำดับกันนี้เพื่อป้องกันการเขียนพันกันให้แยกประเด็นแล้วใส่หมายเลยกำกับด้วยก็จะดีครับ วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเขียนที่มีความเป็นนามธรรม เนื้อหามีความละเอียด เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ หลังจัดระเบียบความคิดแล้วแยกประเด็นใส่หมายเลขกำกับเพื่อป้องกันการสับสน
เทคนิคการเรียบเรียงภาษาที่ใช้จัดการกับการนำเสนอเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น
1. หลีกเลี่ยงการเขียนวกไปวนมาโดยนำเสนอเป็นประเด็น และจัดลำดับ ตัวอย่างการนำเสนอ เช่น ประการที่หนึ่ง……………… ประการที่สอง…………………… ประการที่สาม…………………….. หรือ อาจใช้หมายเลขกำกับ เช่น 1)………………… 2)…………………. 3)………………………….
การนำเสนอโดยจัดลำดับเป็นประเด็นจะช่วยให้คนที่เขียนไม่คล่องจัดลำดับความคิดไม่ทันสามารถนำเสนอผลงานได้ง่ายโดยไม่ตกประเด็น และยังเป็นการตรวจสอบว่าเราเขียนประเด็นไหนตกไปบ้าง
2.การเรียบเรียงประเด็นและจัดลำดับตามข้อ สามารถทำได้ทั้งการนำเสนอโดยแยกหัวข้อ เช่น
ประการที่หนึ่ง…………………………………………………………...
ประการที่สอง…………………… …………………………………….
ประการที่สาม…………………………………………………………...
การเขียนเรียงประเด็นเป็นข้อ ๆ เช่นนี้จะช่วยให้เพื่อนเขียนโดยจัดลำดับความคิดของตัวเองไปในตัว นอกจากจะป้องกันเขียนพันกันเองแล้วก็จะช่วยทบทวนว่าประเด็นไหนเขียนไปแล้วหรือยังไม่เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น