วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเขีนบทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาของปัญหา

เป็นการเล่าเรื่องว่าสิ่งที่เราต้องการศึกษามีความสำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องศึกษเรื่องนั้น ๆ ต้องชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาให้ชัดเจน มีที่มาอย่างไร ระดับความรุนแรงอย่างไร หากละเลยจะนำไปสู่ความเสียหายหรือผลกระทบอย่างไรปัญหาที่ว่านี้เกิดความขัดแย้งในสังคมอย่างไร มีผลกระทบอย่างไร มีความสำคัญเพียงใดที่ต้องศึกษา เริ่มต้นก็เกริ่นนำปูพื้นความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการศึกษาก่อนครับเผื่อว่าผู้สนใจที่เข้ามาอ่านไม่มีความรู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อน จากนั้นก็ปูพื้นปัญหาของเรื่องที่เราต้องการศึกษาครับ

วัตถุประสงค์การกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษามักกำหนด ดังนี้
1. เพื่อศึกษา/เพื่อวิเคราะห์/เพื่อทราบ…(ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน)………
2. เพื่อศึกษา/เพื่อวิเคราะห์/เพื่อทราบ…(ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน)………
3. เพื่อศึกษา/เพื่อวิเคราะห์/เพื่อทราบ…(ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน)……… วัตถุประสงค์จะมีกี่ข้อไม่จำกัดขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้อเรื่องว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใด หรือขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้เขียน/ ผู้วิจัยว่าอยากจะศึกษาเรื่องที่สนใจเรื่องอะไร การเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนให้ชัดเจน โดยกำหนดไว้วัตถุประสงค์ข้อละ 1 ประเด็น

วิธีการศึกษา
การเขียนงานวิชาการไม่ว่าจะเป็นรายงาน วิทยานิพนธ์ จำเป็นต้องบอกกล่าวด้วยครับว่างานเขียนของเรามีวิธีการเขียนอย่างไร เก็บข้อมูลอย่างไร วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรการเขียนวิธีการศึกษาให้ระบุให้ชัดเจนฟันธงไปเลย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต จากเอกสาร (ระบุเอกสารด้วยว่าเอกสารอะไร เอกสารราชการ บทความ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น…….)


ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตการศึกษาะเป็นการตกลงกันเบื้องต้นว่าการศึกษานี้มีขอบเขตการศึกษากว้างขวาง กินความไปมากน้อยเพียงใด ครอบคลุมประเด็นใดบ้าง เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง เช่น
1. ขอบเขตด้านกาลเวลา เช่น ศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง………ปี พ.ศ………….
2. ขอบเขตด้านตัวบุคคล คือการเก็บข้อมูลจากตัวบุคคลที่ระบุตัวตนชัดเจน เช่น ทัศนคติครูโรงเรียน…..ก…..
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา เช่น การวิเคราะห์เนื้อหากฎหมายบางฉบับ บางมาตรา การวิเคราะห์นโยบายของรัฐ
4. ขอบเขตด้านพื้นที่ เช่น ศึกษาเฉพาะบริษัท A ,B, C หรือศึกษาในจังหวัด ก, ข, ค เป็นต้น
5. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ก. ลักษณะของประชากร ข. จำนวนประชากร
6. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
7. ตัวแปรที่ศึกษา ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล



สมมติฐานการวิจัย(ถ้ามี)

สมมติฐานคือการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยซึ่งคาดการณ์ไว้ก่อนที่จะวิจัย เมื่อผลการวิจัยออกมาแล้วอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับสมมติฐานก็ได้ ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิด เพราะก่อนวิจัยเราอาจคิดว่าปัญหาการวิจัยของเราน่าจะเกิดจากสาเหตุ ก. แต่หลังการวิจัยแล้วพบว่าไม่ใช่ปัญหาเกิดจากสาเหตุ ข. ต่างหาก เป็นต้น ในตัวสมมติฐานเองก็มีรายละเอียดให้ศึกษา เช่น
1. ถ้าเป็นสมมติฐานการวิจัยแบบเปรียบเทียบ จะมีคำว่า “มากกว่า”, “สูงกว่า”หรือ “ต่ำกว่า” หรือ “แตกต่างกัน” ในสมมติฐานนั้นๆ
2. ถ้าเป็นสมมติฐานการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า “สัมพันธ์กันทางบวก”หรือ“สัมพันธ์กันทางลบ” ในสมมติฐานนั้นๆ

นิยามศัพท์/นิยามศัพท์เฉพาะ

งานเขียนที่กล่าวถึงศัพท์เทคนิคเฉพาะทางที่ไม่ใช่คำสามัญในชีวิตประจำวันก็ควรเขียนไว้ครับ โดยเขียนคำเทคนิคเฉพาะทางและความหมายไว้พอเข้าใจ เมื่อผู้อ่านเห็นคำ ๆ นี้แล้วก็จะเป็นอันเข้าใจโดยอัตโนมัติว่าคำนี้ในการเขียนฉบับนี้หมายถึงอะไร

ประโยชน์ที่จะได้รับเขียนบอกด้วยนะครับว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้คืออะไร ประโยชน์ที่ว่านี้ก็นำมาจากวัตถุประสงค์การศึกษาครับ เมื่อวัตถุประสงค์ต้องการศึกษา/วิเคราะห์/ทราบ …….. ประโยชน์ที่จะได้รับก็จะเขียนว่า ทำให้ทราบถึง….(ตามด้วยวัตถุประสงค์การศึกษา)…….






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น